• การจัดหาทรัพยากรอย่างมีความรับผิดชอบ

ให้ความสำคัญกับเสียงของพนักงาน

การมีส่วนร่วมและความเป็นอยู่

เราเชื่อว่าพนักงานที่มีทักษะ มีคุณค่า และมีส่วนร่วมกับองค์กรคือกุญแจสำคัญสำหรับการเติบโตและความยั่งยืน เราต้องการส่งเสริมให้ซัพพลายเออร์เข้ามามีบทบาทและให้คุณค่าแก่พนักงานของตน เพราะเรารู้ว่าเมื่อพนักงานเกิดการมีส่วนร่วมสูง แรงงานจะมีประสิทธิภาพ ปรับตัวเร็ว และทุ่มเทให้กับงาน ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์กับทั้งตัวบุคคลและองค์กร

พนักงานที่มีส่วนร่วมไม่เพียงแต่จะมีแนวโน้มที่จะมีความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีแนวโน้มที่จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีอัตราการขาดงานลดลงด้วย   แรงงานที่มีส่วนร่วมจึงเป็นเครื่องยืนยันว่าปัญหาทางธุรกิจจะได้รับการแก้ไขในระดับโครงสร้างอย่างทั่วถึง เช่น ค่าตอบแทน ค่าล่วงเวลา และสภาพของสถานที่ทำงาน

เราได้พัฒนาและจัดทำแบบสำรวจการมีส่วนร่วมและความเป็นอยู่ที่ดี (EWB) เพื่อวัดระดับการมีส่วนร่วมและประสบการณ์ของพนักงานที่ว่าจ้างโดยซัพพลายเออร์ การสำรวจความคิดเห็นของเราอาจไปถึงสถานประกอบการต่างๆ ในซัพพลายเชนแบบขยายผล (Extended Supply Chain) มากขึ้นแล้ว แต่การวัดเสียงของพนักงานเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะสิ่งที่เราทำอย่างต่อเนื่องไปด้วยคือการสนับสนุนซัพพลายเออร์ในการขยายขีดความสามารถที่จะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมมากขึ้น แนวทางนี้เป็นการปูพื้นฐานสู่อนาคตที่เราจะร่วมเติบโตไปพร้อมซัพพลายเออร์ที่ให้คุณค่าและการมีส่วนร่วมแก่พนักงาน

เรามอบแนวปฏิบัติที่คำนึงถึงความเป็นจริง เป็นไปตามหลักฐาน และสามารถวัดผลได้ให้แก่ซัพพลายเออร์ เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมและตั้งเป้าหมายที่สะท้อนความทะเยอทะยานสำหรับปี 2025 ดังนั้นภายในปี 2025 เราตั้งความหวังว่าซัพพลายเออร์เชิงกลยุทธ์ 100% จะวัดผลและปรับปรุงการมีส่วนร่วมของผู้คนที่คอยสร้างสินค้าให้เรา

เราตั้งเป้าหมายนี้ไว้เพราะเชื่อว่าแรงงานที่มีส่วนร่วมกับองค์กรคือแรงงานที่มีคุณค่าและมีความต้องการจะทำประโยชน์ให้องค์กร สภาพแวดล้อมในการทำงานจึงจำเป็นต้องปลอดภัยต่อทั้งทางร่างกายและทางอารมณ์ โดยต้องมีฝ่ายบริหารคอยดูแลอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมดังกล่าวขึ้นด้วย

และเพื่อให้เป้าหมายนี้สัมฤทธิ์ผล เราจะมุ่งเน้นที่จุดสำคัญในการทำงาน 3 จุด

การมีส่วนร่วมและความเป็นอยู่ของพนักงาน
Fy22 Worker Engagement Wellbeing Worker Training Support Worker Engagement Wellbeing Poster
การปรับขนาดการสำรวจ EWB

เป้าหมายของเราคือการเข้าถึงซัพพลายเออร์เชิงกลยุทธ์ 100% ยิ่งเข้าถึงซัพพลายเออร์ได้มาก เราก็จะยิ่งเข้าใจภาพรวมของอุตสาหกรรมทั้งหมดได้ดี และจะยิ่งมีโอกาสสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อไปในอนาคตมากขึ้น

แบบสำรวจ EWB ที่เราจัดทำขึ้นใช้เพื่อวัดการมีส่วนร่วมตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่ทำงานในสถานประกอบการซัพพลายเออร์ โดยแบบสำรวจ EWB นี้จะไฮไลต์จุดที่พนักงานรู้สึกถึงการสนับสนุนและการมีส่วนร่วม และจะช่วยชี้ในจุดที่ฝ่ายบริหารซัพพลายเออร์ต้องปรับปรุงเมื่อเป็นเรื่องการมีส่วนร่วมของพนักงาน

แบบสำรวจนี้ได้รับการนำร่องและทดสอบมาแล้วอย่างกว้างขวาง โดยร่วมมือกับซัพพลายเออร์และองค์กรอื่นๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถปฏิบัติจริงได้ และสะท้อนสถานะปัจจุบันของการมีส่วนร่วมในสถานประกอบการในภาพรวมได้อย่างชัดเจน

ผลักดันการวัดเสียงพนักงานซึ่งนำโดยซัพพลายเออร์

เมื่อพูดถึงการมีส่วนร่วมและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ไม่มีซัพพลายเออร์รายใดที่เหมือนกันหรืออยู่ในจุดเดียวกัน เราจึงต้องปรับวิธีการให้สอดคล้องกับซัพพลายเออร์แต่ละราย แนวทางปฏิบัติของ Nike จะเป็นตัวผลักดันการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และมอบความเป็นเจ้าของและความรับผิดชอบในกระบวนการนี้ให้แก่ซัพพลายเออร์ เรามีเครือข่ายเวนเดอร์ที่เข้มแข็ง ซึ่งเป็นผู้สามารถใช้เทคโนโลยีมือถือและแท็บเล็ตเพื่อดำเนินการสำรวจในช่องทางดิจิทัลได้ ทำให้เก็บผลสำรวจได้อย่างรวดเร็วและมีความพร้อมมากกว่าการนำมาใช้กับระบบการสื่อสารระหว่างฝ่ายพนักงานกับฝ่ายบริหาร

ขยายขีดความสามารถด้านการมีส่วนร่วม

เราสนับสนุนซัพพลายเออร์ในการขยายขีดความสามารถที่ช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมให้มากขึ้น การเดินหน้าพัฒนาเครื่องมือและยกระดับขีดความสามารถในการทำงานของเราจะช่วยสนับสนุนซัพพลายเออร์ในการนำข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจ EWB มาใช้ในการปฏิบัติจริงที่ส่งผลเชิงบวกต่อพนักงาน ซึ่งรวมถึง "คู่มือวางแผนดำเนินการ EWB" ที่ช่วยสถานประกอบการในการออกแบบและดำเนินการแปลงข้อมูลที่ได้จากพนักงานไปเป็นแนวปฏิบัติ แล้วนำแนวปฏิบัติเข้าสู่ระบบบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์

การมุ่งเน้นของเราที่เพิ่มการสื่อสารระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายพนักงาน ลงทุนในการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์พร้อมปรับกรอบการทำงานฝ่ายบริหารให้คล่องตัวขึ้น ยกระดับวัฒนธรรมส่งเสริมความปลอดภัย และออกแบบการทำงานด้วยมุมมองที่มีพนักงานเป็นศูนย์กลาง จะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานและทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

นอกจากนี้เรายังเห็นโอกาสในการร่วมมือกับบริษัทที่มีแนวคิดใกล้เคียงกัน เพื่อร่วมกันสร้างและเผยแพร่เครื่องมือและโปรแกรมที่เพิ่มการมีส่วนร่วมและความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่พนักงาน

กลไกการร้องทุกข์

Nike มองว่าการเข้าถึงช่องทางที่มีประสิทธิภาพคือเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพนักงานที่ต้องการร้องทุกข์เมื่อมีเหตุจำเป็น เราจึงมีกลไกการร้องทุกข์มอบให้แก่พนักงาน ดังนี้

  1. กลไกการร้องทุกข์ของซัพพลายเออร์: เรากำหนดให้ซัพพลายเออร์ต้องมีกระบวนการร้องทุกข์ที่มีประสิทธิภาพ พนักงานสามารถร้องเรียนข้อกังวลจากประสบการณ์ของตนในการทำงานได้ เช่น สภาวะเงื่อนไขของการทำงาน นโยบายและขั้นตอนการทำงานของบริษัท รวมถึงข้อกำหนดและเงื่อนไขของการจ้างงาน และเนื่องจาก Nike เลือกฐานซัพพลายเออร์ด้วยความระมัดระวัง ขั้นตอนนี้จึงค่อนข้างมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่ร้องเรียนขึ้นมา ช่วยขจัดความจำเป็นในการใช้กลไกอื่นๆ เพื่อดำเนินการกับซัพพลายเออร์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ หลักเกณฑ์มาตรฐานความเป็นผู้นำ (CLS) กำหนดว่าการทำให้กลไกการร้องทุกข์ของซัพพลายเชนมี "ประสิทธิภาพ" จำเป็นต้องปฏิบัติให้ได้ตามข้อกำหนดขั้นต่ำบางอย่าง เช่น กลไกการร้องทุกข์จะต้องเป็นความลับ มีกรอบเวลา ปกป้องผู้ร้องทุกข์ โปร่งใส สามารถทำได้หลายช่องทาง และเปิดเป็นสาธารณะต่อพนักงาน นอกจากนี้ซัพพลายเออร์จะต้องวัดประสิทธิผลของกระบวนการร้องทุกข์นี้ รวมทั้งจัดทำเป็นเอกสารและติดตามการร้องทุกข์เพื่อดูแลให้มีการตอบสนองต่อคำร้องอย่างทันท่วงที ข้อกำหนดเหล่านี้สอดคล้องกับเกณฑ์ประสิทธิผลซึ่งอยู่ภายใต้แนวทางต่างๆ (ที่อิงตามเกณฑ์ประสิทธิผลของหลักการ UNGP) กระบวนการร้องทุกข์ของซัพพลายเออร์จะถูกประเมินในช่วงการประเมินของโปรแกรม SLCP และในการตรวจสอบงบการเงินของ Nike
  2. พอร์ทัล Speak Up: พอร์ทัล "Speak Up" ของ Nike ซึ่งสามารถเข้าใช้งานทางออนไลน์หรือโดยโทรศัพท์ได้ทุกเมื่อ คือบริการที่ให้พนักงานจากซัพพลายเชนได้แจ้งข้อกังวลถึง Nike โดยตรง พนักงานที่เป็นซัพพลายเชนของ Nike ได้ส่งข้อกังวลมาทางพอร์ทัลนี้และ Nike ก็ได้สืบสวนข้อกังวลเหล่านั้น Nike ยังคงหาทางปรับปรุงโปรแกรมตรวจสอบองค์กรอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับหลักปฏิบัติที่ดีของ OECD ซึ่งก็รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิผลของกลไกการร้องทุกข์ด้วย
  3. กลไกการร้องเรียนโดยบุคคลที่สามของสมาคมแรงงานยุติธรรม (FLA): Nike มีส่วนร่วมกับกลไกการร้องเรียนที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาจากหลายฝ่ายนี้ ซึ่งให้ประโยชน์ในแง่ของการเพิ่มอำนาจเมื่อเจอสถานการณ์ที่องค์กรต่างๆ ยื่นเรื่องร้องเรียนกับ FLA หรือเมื่อ Nike ไม่ใช่ผู้ซื้อเพียงรายเดียวของโรงงาน ขั้นตอนการร้องเรียนของบุคคลที่สามเปิดโอกาสให้บุคคล กลุ่ม หรือองค์กรรายใดๆ สามารถรายงานการละเมิดสิทธิ์ของพนักงานอย่างร้ายแรง และถือเป็นเครื่องมือทางเลือกสุดท้ายเมื่อช่องทางอื่นๆ ทั้งหมดล้มเหลว Nike พยายามจัดการและแก้ไขข้อเรียกร้องที่น่าเชื่อถือและมีน้ำหนักซึ่งมีการยื่นเรื่องผ่านทางกลไกนี้ในกรณีที่มีการให้รายละเอียดอย่างเพียงพอที่ทำให้ Nike สามารถสืบสวนข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจนำไปสู่การแก้ไขหรือหาทางออกอื่นๆ ที่มีความหมาย ผลลัพธ์ของกระบวนการนี้ประกอบด้วยการนำพนักงานที่ถูกปลดออกจากตำแหน่งอย่างไม่เป็นธรรมกลับมาอีกครั้งโดยมีการจ่ายเงินคืน การยอมรับสหภาพแรงงาน การจัดทำโปรแกรมการฝึกอบรมและการศึกษา และการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและฝ่ายบริหาร ตัวอย่างเช่น ในปี 2019 ทาง FLA ประเมินว่าจากการละเมิดที่ได้รับรายงานทั้งหมด 51 กรณี Nike ได้ทำงานกับซัพพลายเออร์จนสามารถแก้ปัญหาการละเมิดไปได้ 75% ซึ่งตามมาด้วยการตรวจสอบยืนยันการแก้ไขปัญหานี้จากทาง Nike
  • เรื่องราว
  • ผลกระทบ
  • บริษัท
  • ห้องข่าว
      • © 2024 NIKE, Inc. สงวนลิขสิทธิ์