ส่วนต่างสำหรับชัยชนะที่ปารีสวัดกันที่หน่วยนิ้ว กิโลกรัม และมิลลิวินาที แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากนักกีฬา 2 คนเสมอกันเมื่อจบการแข่งขัน
ไทเบรก (Tiebreaker) เคยเกิดขึ้นในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศปี 2020 นี้เอง เมื่อท้ายที่สุดแล้วนักกระโดด 2 คนได้เหรียญทองกีฬากระโดดสูงที่โตเกียวร่วมกัน ก่อนหน้านี้ไม่ได้เป็นเช่นนี้เสมอไป การเปลี่ยนแปลงกฎกติกาในปี 2009 ทำให้ผู้เข้าแข่งขันสามารถตกลงเลือกด้วยกันได้ว่าจะชนะทั้งคู่หรือแข่งกันต่อโดยผลัดกันกระโดดครั้งต่อครั้งจนกระทั่งเหลือผู้ชนะคนเดียว
ไม่น่าแปลกใจเลยที่ไทเบรกสำหรับกีฬาแต่ละชนิดจะมีกฎแบบละเอียดที่อธิบายวิธีการตัดสินผู้ชนะ สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือไทเบรกสำหรับกีฬาแต่ละชนิดอาจมีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย ตามเช็คลิสต์ผลลัพธ์ที่อาจดูไม่น่าเป็นไปได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ เรามาดูขั้นตอนไทเบรกสำหรับการแข่งขันยอดนิยมบางส่วนกัน
ว่ายน้ำ: สำหรับทีม
เริ่มที่การแข่งขันรอบคัดเลือกและรอบรองชนะเลิศ: สำหรับการแข่งขันแบบเดี่ยวระยะทาง 200 เมตรหรือน้อยกว่า ผลเสมอสำหรับคนเข้ารอบหรือรายชื่อสำรองคนสุดท้ายจะตัดสินด้วยการแข่งว่ายน้ำ กล่าวคือนักว่ายน้ำจะกลับมาลงสระและแข่งกันอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ในการแข่งขันที่ระยะไกลกว่า 200 ม. และในการแข่งขันแบบผลัดทุกรายการ นักกีฬาหรือทีมที่เสมอกันทั้งหมดจะเข้ารอบชิงชนะเลิศโดยมีเลนสูงสุด 10 เลน นั่นคือการแย่งชิงที่ดุเดือดทีเดียว หากนักว่ายน้ำหรือทีมมากกว่า 3 คนหรือ 3 ทีมเสมอกันในตำแหน่งสุดท้ายที่ได้เข้ารอบ ก็อาจมีการแข่งตัดสินอีกรอบได้
กระโดดไกล: สถิติที่ดีที่สุดรองลงมา
ในการแข่งขันกระโดดไกลรอบชิงชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันจะมีโอกาสกระโดดให้ไกลที่สุด 6 ครั้ง ในระหว่างการแข่งขัน การกระโดดทุกครั้งที่ไม่นับเป็นฟาวล์ (เช่น การกระโดดที่ลงสู่พื้นผิดกฎหรือที่เริ่มเกินเส้นฟาวล์) จะถูกบันทึกไว้ แต่จะนำเฉพาะครั้งที่ดีที่สุดของผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนไปตัดสินผลลัพธ์สุดท้าย หากผู้เข้าแข่งขัน 2 คนเสมอกันด้วยการกระโดดที่ไกลที่สุด ก็จะใช้การกระโดดที่ถูกกฎที่ไกลที่สุดรองลงมาเป็นตัวตัดสิน
ยกน้ำหนัก: เร็วก่อนชนะ
การยกน้ำหนักประกอบด้วยการแข่งขัน 2 รายการ ได้แก่ ท่าสแนทช์และท่าคลีนแอนด์เจิร์ก จากนาทีที่นักกีฬายกน้ำหนักก้าวเข้าสู่แพลตฟอร์ม พวกเขาจะมีเวลา 60 วินาทีในการยกน้ำหนักแต่ละครั้ง โดยมีโอกาส 3 ครั้งต่อรอบเพื่อยกน้ำหนักให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผลลัพธ์สุดท้ายจะตัดสินโดยการเพิ่มสถิติท่าสแนทช์ครั้งที่ดีที่สุดของผู้แข่งขันแต่ละคนกับสถิติท่าคลีนแอนด์เจิร์กครั้งที่ดีที่สุดเพื่อให้ได้ยอดรวม นักกีฬาที่มียอดรวมสูงสุดจะเป็นผู้ชนะ ในกรณีที่เสมอกัน ผู้เข้าแข่งขันที่ยกน้ำหนักรวมได้ก่อนจะได้อันดับสูงกว่า
กระโดดค้ำถ่อ: เอาใหม่อีกครั้ง
ผู้ชนะของการแข่งขันนี้คือนักกีฬาที่กระโดดข้ามบาร์ในระดับที่สูงที่สุดได้สำเร็จ ในกรณีที่เสมอ นักกีฬาที่พลาดน้อยครั้งที่สุดที่ความสูงระดับดังกล่าวคือผู้ชนะ ถ้ายังคงเสมออยู่ ผู้ชนะคือนักกีฬาที่มีความผิดพลาดน้อยที่สุดตลอดการแข่งขัน หากนักกีฬาที่เสมอกันยังคงเสมอกันอยู่อีก ผู้ชนะจะถูกตัดสินโดยการแข่งกระโดดอีกครั้ง นักกระโดดแต่ละคนมีโอกาส 1 ครั้งต่อความสูง 1 ระดับ บาร์จะต่ำลงหากกระโดดไม่ผ่าน และบาร์จะยกสูงขึ้นหากกระโดดผ่าน กระบวนการนี้จะดำเนินต่อไปจนกว่าจะมีนักกระโดดเพียงคนเดียวที่กระโดดสำเร็จที่ระดับความสูงหนึ่ง
มวยปล้ำ: ลำดับที่เฉพาะเจาะจง
อันดับแรกคือมีความแตกต่างบางประการระหว่างแบบเกรโก-โรมันและแบบฟรีสไตล์ ในแบบเกรโก-โรมัน นักมวยปล้ำจะไม่เข้าปะทะกับคู่ต่อสู้ในระดับต่ำกว่าเอว หรือใช้ขาสกัด ยก หรือกดท่าอื่นๆ ในแบบฟรีสไตล์ แขนและขาจะถูกใช้ในการกด ถ้านักมวยปล้ำเสมอกันในการแข่งขันไม่ว่าจะแบบเกรโก-โรมันหรือแบบฟรีสไตล์ ผู้ชนะจะตัดสินโดยใช้รายการเกณฑ์ที่ละเอียดถี่ถ้วนตามลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ดังนี้
- ใครก็ตามที่ได้คะแนนสูงสุดในการกดครั้งเดียว
- ใครก็ตามที่ทำผิดกติกา (ได้ Caution) น้อยที่สุด
- ใครก็ตามที่ทำท่าเทคนิคได้แต้มสุดท้ายในการแข่งขัน (นี่คือตัวตัดสินสุดท้ายสำหรับการแข่งมวยปล้ำแบบฟรีสไตล์)
- ใครก็ตามที่ถูกมองว่าเป็นนักมวยปล้ำที่แอ็คทีฟที่สุดที่ยืนหยัดอยู่ในการแข่งขัน (นี่คือตัวตัดสินสุดท้ายสำหรับการแข่งขันแบบเกรโก-โรมัน)