• นวัตกรรม

เหตุผลที่ Nike ผลิตรองเท้าที่สามารถแยกชิ้นส่วนได้

  • 12/7/2565
Nike 2022 Stories Vol1 Ispa Ispalink 001

แฟนๆ ของ Swoosh คงรู้ดีว่าแบรนด์เก่งเรื่องการดีไซน์รองเท้าที่ใครๆ ก็อยากครอบครอง สิ่งที่ยกระดับความสำเร็จนั้นขึ้นไปอีกขั้นก็คือการดีไซน์รองเท้าที่สร้างมาเพื่อโชว์ฟอร์มและโชว์ความเท่ จากนั้นก็ถูกแยกชิ้นส่วนและรีไซเคิล

นี่คือความรับผิดชอบของทีม Nike ISPA ISPA (Improvise (การด้นสด), Scavenge (การแสวงหา), Protect (การปกป้อง), Adapt (การปรับตัว)) คือปรัชญาแห่งการดีไซน์ของ Nike ที่ท้าทายให้เหล่าผู้สร้างสรรค์สินค้าทดลองอะไรใหม่ๆ ทำอะไรที่แตกต่าง และเปลี่ยนโฉมสินค้า ในกรณีนี้ ปรัชญานี้ช่วยให้ Nike เข้าใกล้วิสัยทัศน์การหมุนเวียนของบริษัทมากขึ้น ซึ่งก็คือระบบวงจรแบบปิดที่ไม่ยอมให้เกิดของเสีย เพื่อช่วยปกป้องโลกและอนาคตแห่งเกมกีฬา

เมื่อไม่นานมานี้ ทีม ISPA ได้เปิดตัวรองเท้ารุ่นใหม่ที่ใครก็ต้องเหลียวมอง 2 รุ่นซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถด้านนวัตกรรมของแบรนด์และบ่งบอกได้ถึงอนาคตของแบรนด์ในด้านการดีไซน์แบบหมุนเวียน 

จุดมุ่งหมาย

เป็นเวลากว่า 30 ปีที่ทีม Nike ได้พยายามเฟ้นหาโซลูชันการดีไซน์มาให้บริการนักกีฬาและโลกใบนี้ ทีมได้ค้นพบวัสดุใหม่ที่มีผลกระทบน้อยลง (ดู: Nike Grind, Nike Air) และสร้างที่สุดของรองเท้าเสริมประสิทธิภาพและซิลลูเอทไลฟ์สไตล์อันเป็นเอกลักษณ์ที่ใช้ประโยชน์จากวัสดุรีไซเคิล (ดู: Alphafly Next Nature, คอลเลกชัน Move to Zero ปี 2022) เนื่องจากวิกฤติสภาพอากาศได้ทวีความรุนแรงขึ้นสำหรับนักกีฬาทั่วโลก ทีม Nike จึงต้องเร่งเครื่องโดยเปิดรับหลักการดีไซน์แบบหมุนเวียนเป็นตัวเร่งด้านการสร้างสรรค์   นั่นรวมถึงหลักการ 10 ข้อที่ระบุไว้ใน Circular Design Guide ของ Nike ซึ่งเป็นคู่มือแบบโอเพนซอร์สเพื่อแบ่งปันความรู้และข้อมูลเชิงลึกกับชุมชนการออกแบบที่ใหญ่ขึ้น รวมถึงทุกคนที่สนใจว่าการออกแบบจะช่วยลดผลกระทบต่อโลกได้อย่างไร

ในที่นี้ ทีม ISPA ได้พิจารณาหลักการดีไซน์แบบหมุนเวียนเรื่อง "การถอดแยกชิ้นส่วน" หรือความสามารถในการแยกชิ้นส่วนสินค้าเพื่อนำวัสดุไปรีไซเคิลได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการที่ท้าทายในการนำมาปรับใช้กับการดีไซน์รองเท้า รองเท้าที่ดีต้องมีความยืดหยุ่นและทนทาน โดยทั่วไปแล้ว ดีไซเนอร์จะใช้กาวและวัสดุเชื่อมอื่นๆ เพื่อให้รองเท้ามีคุณสมบัติเช่นนั้น แต่นั่นทำให้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะถอดแยกและรีไซเคิลรองเท้า การรีไซเคิลรองเท้ามักจะต้องอาศัยขั้นตอนการฉีกตัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ถือเป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานมาก ซึ่งจะจำกัดวิธีการนำวัสดุรีไซเคิลไปใช้ต่อ การสร้างรองเท้าที่สามารถแยกส่วนได้จะช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของสินค้าและทำให้เกิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ กับวัฏจักรชีวิตของสินค้า


นวัตกรรม

ทีม ISPA จัดการกับความท้าทายในการถอดแยกชิ้นส่วน "รองเท้าคู่นี้ได้รับการออกแบบร่วมกับฝ่ายวิศวกรรม ฝ่ายสร้างและพัฒนาสินค้าดิจิทัล เราได้ข้อมูลมาสร้างสรรค์รองเท้าจากวิธีการผลิตล้วนๆ เป็นการคิดถึงฟังก์ชันการใช้งานก่อนแล้วรูปทรงค่อยตามมา" Darryl Matthews รองประธานฝ่าย Catalyst Footwear Product Design กล่าว "เราหวังให้ความคิดและสุนทรียศาสตร์แบบนี้กลายเป็นมาตรฐานปกติ เพื่อที่จะเร่งให้เราสามารถจินตนาการออกได้เร็วขึ้นว่ารองเท้าจะพัฒนาต่อไปอย่างไรในอนาคต" 

"รองเท้าคู่นี้สร้างสรรค์ขึ้นจากข้อมูลกระบวนการผลิตล้วนๆ โดยคำนึงถึงฟังก์ชันการใช้งานก่อนแล้วรูปทรงค่อยตามมา เราหวังให้ความคิดและสุนทรียศาสตร์แบบนี้กลายเป็นมาตรฐานปกติ เพื่อที่จะเร่งให้เราสามารถจินตนาการออกได้เร็วขึ้นว่ารองเท้าจะพัฒนาต่อไปอย่างไรในอนาคต"

Darryl Matthews รองประธานฝ่าย Catalyst FW Product Design

Nike ISPA Link

ซิลลูเอทล้ำอนาคตนี้โดดเด่นด้วยโมดูลอินเทอร์ล็อค 3 โมดูลที่เชื่อมต่อกันโดยไม่ต้องใช้กาว ซึ่งสามารถถอดออกและมาส่งให้ Nike Store ที่มีบริการรีไซเคิลและบริจาคได้

Nike 2022 Stories Vol1 Ispa Ispalink 002

Nike ISPA Link

พื้นรองเท้าชั้นกลางสร้างขึ้นจากหมุดที่พอดีกับช่องที่ออกแบบเชิงโครงสร้างมาให้อยู่ในส่วนบน ซึ่งช่วยให้ได้ความพอดีอย่างไร้ที่ติ ทั้งยังสบาย มั่นคง และระบายอากาศได้ดี ตามข้อมูลของนักกีฬา 40 คนที่ใส่รุ่นต้นแบบราว 200 ชั่วโมง 

Nike 2022 Stories Vol1 Ispa Ispalink 003

พื้นรองเท้าชั้นกลาง ISPA Link

จากมุมมองด้านการผลิต ความเรียบง่ายของ Link ถือเป็นการปฏิวัติวงการ Link หนึ่งคู่ใช้เวลาในการประกอบประมาณ 8 นาที ซึ่งนับเป็นเศษส่วนของเวลาโดยเฉลี่ยที่ใช้กับสนีกเกอร์แบบดั้งเดิม เพราะใช้จิ๊กที่ออกแบบขึ้นมาเองและเพราะรองเท้ารุ่นนี้ไม่ต้องใช้กระบวนการติดกาวที่กินเวลามากในการสร้างพื้นรองเท้าชั้นกลาง สุดท้าย การประกอบรองเท้าก็เสร็จสิ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้กระบวนการแบบเดิมที่กินพลังงานมาก อย่างระบบทำความเย็น ระบบทำความร้อน และสายพานลำเลียง

ISPA Link Axis

อะไรที่ว่าเด่นแล้ว ก็ทำให้เด่นยิ่งขึ้นไปอีก นั่นคือกลิ่นอายของ Link Axis ซึ่งต่อยอดและผลักดันจุดมุ่งหมายสู่ความยั่งยืนของ Link Link Axis มีส่วนบน Flyknit จากโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล 100 เปอร์เซ็นต์ที่ออกแบบเชิงโครงสร้างมาอย่างแม่นยำให้อยู่บนพื้นรองเท้าชั้นนอกได้พอดี (เมื่อเทียบกับวิธีการตัดเย็บแบบดั้งเดิมที่ใช้กับ Link) และวัสดุ TPU รีไซเคิล 100 เปอร์เซ็นต์ก็มาจากการใช้เศษวัสดุถุงลม Air

Nike 2022 Stories Vol1 Ispa Ispaaxis 001

ISPA Link Axis

Link Axis คือจุดสูงสุดใหม่สำหรับการถอดแยกชิ้นส่วนและตัวอย่างผลลัพธ์จากหลักการดีไซน์แบบหมุนเวียนด้านการเลือกวัสดุ การหลีกเลี่ยงของเสีย และการรีเฟอร์บิช

Nike 2022 Stories Vol1 Ispa Ispaaxis 002
Nike 2022 Stories Vol1 Ispa Ispaaxis 003

นอกจากนี้รองเท้ายังมีกรอบ TPU รีไซเคิล 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากกระบวนการรีไซเคิลได้เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติบางอย่างของวัสดุไป กรอบจึงเป็นการสร้างสมดุลระหว่างความต้องการใช้วัสดุรีไซเคิลกับความจำเป็นที่ต้องมีความทนทานและการยึดเกาะ ทีม ISPA จะยังคงค้นหาการพัฒนาใหม่ๆ ในส่วนนี้ต่อไป

แรงบันดาลใจในอดีต

Nike 2022 Stories Vol1 Ispa Prestoclip 001
Nike 2022 Stories Vol1 Ispa Zvezdochka 001
2003

Nike เคยใช้การถอดแยกชิ้นส่วนและดีไซน์อินเทอร์ล็อคแบบโมดูลมาก่อนกับ Presto Clip ปี 2003…

2005

…และ Zvezdochka ปี 2005 ซึ่งสร้างสรรค์ร่วมกับนักออกแบบเชิงอุตสาหกรรม Marc Newson รุ่นก่อนๆ เหล่านี้ปูทางให้กับ ISPA Link และ ISPA Link Axis

เป้าหมายต่อไป

เพื่อให้รุ่นฉีกขนบอย่าง Link และ Link Axis สร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างเต็มรูปแบบ จึงต้องมีการแผ่ขยายนวัตกรรมออกไปในวงกว้าง ซึ่งเรากำลังดำเนินการนั้นอยู่ การพิจารณาไลน์สินค้าและซัพพลายเชนของ Nike แบบองค์รวมได้แสดงให้เห็นแล้วว่าจะสามารถปรับใช้แนวทางใหม่ๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างขึ้นและเพื่อเข้าใกล้เป้าหมายด้านความยั่งยืนของ Nike สำหรับปี 2025 และปีต่อๆ ไปได้อย่างไร

การขยายขอบเขตอย่างแท้จริงยังต้องอาศัยความร่วมมือที่แข็งแกร่งข้ามอุตสาหกรรมเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจและโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยให้สามารถรีไซเคิลสินค้าได้ ด้วยเหตุนี้ Nike จึงกำลังสร้างความร่วมมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรีไซเคิล และกำลังลงทุนในโครงการรับคืนสินค้าจากลูกค้าทั่วโลก ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถของบริษัทในการนำสินค้าที่หมดอายุการใช้งานแล้วกลับมาใช้ใหม่

สิ่งสำคัญก็คือ ด้วยการเปิดรับสุนทรียศาสตร์ใหม่แบบสุดโต่งอย่าง Link และ Link Axis นั้น Nike กำลังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของระบบหมุนเวียนต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และเชิญชวนลูกค้าและชุมชนการออกแบบให้มีส่วนร่วมในการสนทนาเกี่ยวกับเรื่องนี้

ด้วยเหตุนี้ Nike จึงภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในงาน  "Plastic: Remaking Our World" ซึ่งเป็นนิทรรศการที่จัดขึ้นที่  Vitra Design Museum ในเยอรมนี ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันด้านการออกแบบชั้นนำของโลก นิทรรศการนี้เน้นให้เห็นถึงการสำรวจดีไซน์และเส้นทางวิวัฒนาการเบื้องหลัง ISPA Link Axis และเป็นหน้าต่างที่แปลกใหม่ที่แสดงให้เห็นแนวทางของแบรนด์ในการสร้างสรรค์ดีไซน์ที่ล้ำนวัตกรรมโดยมีความตั้งใจที่จะรักษาความยั่งยืน

ด้วย Link และ Link Axis นับว่า Nike ได้เร่งการเดินทางสู่อนาคตแห่งการหมุนเวียนที่ปริมาณของเสียและคาร์บอนลดเป็นศูนย์ให้เร็วขึ้นอีกก้าว John Hoke หัวหน้าฝ่าย Innovation ของ Nike กล่าวไว้ว่า "เรามีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาโซลูชันการดีไซน์ตั้งแต่ต้นจนจบ นั่นได้แก่ วิธีที่เราจัดหา ผลิต ใช้ ส่งคืน และแปรเปลี่ยนสินค้าในท้ายที่สุด เป้าหมายคือการทำให้เรื่องที่ควรจะให้ความสำคัญ สำคัญ ยิ่งขึ้นไปอีก"

  • เรื่องราว
  • ผลกระทบ
  • บริษัท
  • ห้องข่าว
      • © 2024 NIKE, Inc. สงวนลิขสิทธิ์