เมื่อดีไซเนอร์ได้รับฟีดแบ็กจากนักกีฬาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือทำให้กลายเป็นจริง ทีมเริ่มทำงานที่ต้องใช้ความพิถีพิถันอย่างการสร้างต้นแบบโดยอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะสาย ซึ่งเป็นเซนส์ที่คนในทีมเรียกว่า "การอ่านด้วยสัญชาตญาณ"
ไอเดียหลายๆ อย่างที่คิดค้นผ่านโปรแกรม AI แหวกแนวจนน่าขำไปเลย ถ้าเปลี่ยนไอเดียพวกนั้นเป็นโปรโตไทป์ รองเท้าคงไม่มีทางทนการแข่งเทนนิสไบนฮาร์ดคอร์ทร้อนๆ ที่เมลเบิร์นได้ยาวนานถึง 3 ชั่วโมง หรือทนการแข่ง NBA แบบเต็มคอร์ทที่ต้องใช้เรี่ยวแรงทั้งหมดของร่างกายเพื่อเคลื่อนไหวในทุกทิศทางได้ สิ่งนี้ลักษณะคล้ายรองเท้าบาสเก็ตบอลหรือเปล่า? เป็นหน้าที่ของดีไซเนอร์ที่ต้องตั้งคำถาม ถ้าไม่คล้ายงั้นทำไมถึงเป็นแบบนั้น? ในทางตรงกันข้าม โปรโตไทป์ที่ประสบความสำเร็จ สัมผัสได้ถึงศักยภาพที่จะกลายเป็นสินค้าเสริมประสิทธิภาพของจริงได้ ก็ทำให้ทีมต้องถามตัวเองว่า ถ้าจริงทำไมมันถึงเป็นแบบนั้นได้? ข้อมูลที่เก็บได้จาก A.I.R. มีข้อมูลไหนที่สักวันอาจช่วยพัฒนาสินค้าในอนาคตได้? และเพื่อหาคำตอบเหล่านี้ ทีมจึงได้ศึกษาเครื่องมือขั้นสูงทุกชิ้นที่ Nike มีเก็บไว้สำหรับสร้างผลงานต้นแบบ เช่น การสเก็ตช์ 3D จำลอง การออกแบบเชิงคอมพิวเตอร์ การพิมพ์ 3D และการจำลองสถานการณ์ ควบคู่ไปกับการใช้วิธีแบบดั้งเดิมอย่างแฮนด์สเก็ตช์
ดูนักพาราลิมปิกและนักเทนนิสอย่าง Diede de Groot เป็นตัวอย่าง Diede ต้องการให้เท้าล็อคแน่นกับวีลแชร์ และรองเท้าจะต้องไม่มากวนใจขณะแข่ง ทีมของเราไม่อาจใช้ Air ช่วยลดแรงกระแทกใต้ฝ่าเท้าในรูปแบบปกติได้ แต่ถึงอย่างไรรูปลักษณ์ของ Air ก็ยังต้องสะท้อนวิสัยทัศน์ของเธอออกมาให้ได้ ซึ่งทางออกคือการออกแบบรองเท้าให้สามารถล็อคติดกับวีลแชร์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ในลักษณะคล้ายรองเท้าปั่นจักรยาน แล้วใช้ Air กับส่วนบนเพื่อให้ความกระชับอย่างที่เธอต้องการ เครื่องมือทางดิจิทัลอย่างการจำลองสถานการณ์ ก็ทำให้ดีไซเนอร์สามารถทดสอบการรองรับ ความกระชับ และความทนทานของรองเท้า de Groot ในทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อนที่จะพิมพ์ตัวต้นแบบจริงๆ ออกมา
"ความสวยงามของโปรเจกต์นี้คือการได้เห็นคนที่มีความคิดหลากหลายมารวมตัวสร้างอะไรบางอย่างร่วมกัน ใช้เทคนิคและเทคโนโลยีหลายๆ แบบมาต่อยอดซึ่งกันและกัน" Chen กล่าว "เราเรียนรู้จากกันและกันอยู่เสมอ เป็นแนวทางของ Nike ในการรวมพนักงานจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา"
Nike มีพลังการผลิตที่ทำให้ทีมสามารถสร้างส่วนประกอบจริงๆ ออกมาได้อย่างรวดเร็วเพื่อใช้ในการประเมินดีไซน์รูปแบบต่างๆ ด้วยตัวเองแบบเรียลไทม์ นี่คือเวลาที่เราได้เห็นโรงงาน Nike ทำงานด้วยพลังเต็มลูกสูบ ตั้งแต่เครื่องพิมพ์ 3D ใน Concept Creation Center ที่สามารถพิมพ์ชิ้นงานออกมาได้อย่างรวดเร็วเพื่อช่วยพิสูจน์ดีไซน์ที่อยู่ในทฤษฎี ไปจนถึงแมชชีนอย่าง Nike Air MI ซึ่งตั้งอยู่ในอาคาร 1.6 กิโลเมตรจากสำนักงานใหญ่และสามารถขึ้นรูปส่วน Air ที่นักกีฬาเป็นคนเสนอให้ออกมามีรูปลักษณ์ที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อน
เป็นกระบวนการผลิตที่เพิ่มประโยชน์อีกข้อให้กระบวนการดีไซน์ นั่นคือ ทำให้มองเห็นตำหนิเล็กๆ ในชิ้นงานของจริงซึ่งสามารถนำไปปรับปรุงต่อได้
คอนเซปต์ของนักเทนนิสอาชีพอย่าง Zheng Qinwen ได้แรงบันดาลใจจากมรดกทางวัฒนธรรมของจีน ส่วน Nike Air จะมาในรูปของมังกรขดตัว ให้การรองรับและความกระชับ โดยมีเกล็ดมังกรเป็นดีไซน์ของส่วนยึดเกาะที่มีความทนทาน
เมื่อนำคอนเซปต์นี้กลับมายังห้องทำงาน ดีไซเนอร์ในทีมคนหนึ่งถือชิ้นงานตัวอย่างของ Qinwen ขึ้นมา แสงที่อยู่เหนือโต๊ะส่องสะท้อนสี Total Orange ของส่วน Air ที่ขดตัวเป็นรูปมังกร รอยบากบนส่วนคลิป ซึ่งมีลักษณะการเรียงตัวเป็นเกล็ดมังกรและทำหน้าที่เป็นส่วนยึดเกาะ มีรูปแบบเรขาคณิตที่เข้ากับส่วน Air ด้านล่าง แต่รอยบากนี้จะเห็นได้ชัดเมื่อส่องดูใกล้ๆ เท่านั้น
ในโปรโตไทป์ตัวแรกๆ เท็กซ์เจอร์บนคลิปไม่ได้เหมือนเท็กซ์เจอร์ของส่วน Air ด้านล่าง ดีไซเนอร์สายออกแบบเชิงคอมพิวเตอร์ของ Nike จึงสร้างตัวอย่างใหม่ขึ้นมาแล้วเน้นการแก้ไขไปที่ลวดลายเพื่อให้เกล็ดมังกรมีรูปทรงเรขาคณิตที่ตรงกับส่วน Air อย่างเพอร์เฟกต์ นอกจากนี้ลวดลายยังเสริมความแข็งแรงผ่านการออกแบบเชิงคอมพิวเตอร์ในจุดที่สึกหรอง่าย ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงลึกที่เก็บจากการทดสอบความสึกหรอขณะเล่นเทนนิสอย่างละเอียดและเป็นข้อมูลที่ได้จาก NSRL
"น้อยคนจะได้เห็นความใส่ใจในระดับนี้ที่ต่อเนื่องไปจนได้ดีไซน์ไฟนอลนี้ออกมา" ดีไซเนอร์ในทีมกล่าว "สิ่งสำคัญคือเราทำได้แล้ว"