• แบรนด์แห่งนักกีฬา

Anna Cockrell กับการวิ่งข้ามสิ่งกีดขวางทั้งทางกายภาพและด้านจิตใจ

  • 7/8/2567
Side view of Anna Cockrell, kneeling on one knee in her Team USA uniform. She holds her head high, facing left against a blue gradient background.

การวิ่งข้ามรั้วในช่วงท้ายอาจเป็นหนึ่งในสิ่งที่โหดหินที่สุดของกรีฑาประเภทลู่ นักกีฬากรีฑาวิ่งข้ามรั้ว 400 เมตรระดับแนวหน้าอย่าง Anna Cockrell เข้าใจดี เธอแข่งกรีฑาประเภทนี้มาแทบทั้งชีวิต ความรู้สึกปวดร้าวขาตอนที่วิ่งสปรินท์ 1 รอบสนามเต็มๆ แน่นอนว่าเธอก็ต้องเจออยู่แล้ว ทีนี้ก็ต่อด้วยการวิ่งข้ามรั้วอีก 10 ครั้งซึ่งแต่ละครั้งก็ต้องกระโดดสูงกว่าครึ่งตัวเธอทั้งนั้น และรั้วเหล่านี้มีระยะห่างเท่าๆ กันจนกระทั่งถึงเส้นชัย เราถาม Anna ว่าในขณะที่แข่งกรีฑาวิ่งข้ามรั้ว เธอมีวิธีคิดอย่างไรที่ทำให้กายและใจพร้อมข้ามผ่านสิ่งกีดขวางไปได้ 

เราไม่มีเวลาให้คิดปะติดปะต่ออะไรมากนักในช่วง 100 เมตรสุดท้ายของการวิ่งข้ามรั้ว 400 เมตร หนึ่งคือต้องพยายามวิ่งให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ และสองคือต้องแบกรับความเหนื่อยล้าจนถึงขั้นเจ็บปวดไปให้ได้ สิ่งที่ท่องจะต้องเป็นอะไรที่ง่ายๆ คำที่ฉันมักใช้บอกตัวเองคือคำว่า ลุย กับ คลีน หรือก็คือการคุมให้เทคนิคออกมาคลีนเสมอ ฉันเคยผ่านการวิ่งข้ามรั้ว 110 เมตรมาแล้ว จึงคิดว่าเทคนิคของฉันดีกว่าน่าจะดีกว่าที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน สิ่งที่ต้องทำคือใช้เทคนิคที่คลีนตลอดทั้งการแข่งขัน ซึ่งพูดง่ายแต่ทำยากเมื่อเรามุ่งสู่ช่วงสุดท้ายพร้อมความเหนื่อยสุดๆ นอกจากนี้ฉันยังใช้วิธีนับก้าว เมื่อไปถึงรั้วที่ 8 ซึ่งใกล้ถึงปลายทางแล้ว ฉันก็จะบอกตัวเองว่า ลุย ลุย ลุย 1-2-3-4-5-6-7-8-9-10 คลีน คลีน คลีน, ลุย ลุย ลุย ฉันนับก้าวโดยใช้คำเดิมซ้ำๆ เพื่อให้มั่นใจว่าฉันจับจังหวะได้และเคลื่อนไหวได้อย่างที่ควรเป็น 

"สิ่งที่ต้องทำคือใช้เทคนิคที่คลีนตลอดทั้งการแข่งขัน ซึ่งพูดง่ายแต่ทำยากเมื่อเรามุ่งสู่ช่วงสุดท้ายพร้อมความเหนื่อยสุดๆ"

Anna Cockrell นักกีฬากรีฑาวิ่งข้ามรั้ว 400 เมตรชาวอเมริกัน

การเทรนนิ่งแบบนักวิ่งข้ามรั้วสามารถช่วยให้ปรับตัวได้ดีในระหว่างการวิ่ง การเทรนนิ่งวิ่งข้ามรั้วแตกต่างจากการเทรนนิ่งวิ่งสปรินท์เพราะจะต้องมีความคล่องตัวและตัวอ่อนในระดับหนึ่ง จะต้องกระโดดข้ามรั้วให้ผ่านในแบบที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ แน่นอนว่าไม่จำเป็นต้องตัวอ่อนมากถึงขั้นยกขาขึ้นมาแตะหน้าผากได้ แต่จะเมื่อไปถึงช่วงท้ายการแข่งขันและคุณเริ่มหมดแรง คุณต้องมีระยะเคลื่อนไหวที่กว้างพอเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เป็นอันตรายได้ในกรณีที่กระโดดพลาด กะระยะใกล้หรือไกลเกินไป การเทรนนิ่งของคุณจะช่วยเตรียมพร้อมในการรับมือกับความท้าทายที่คาดไม่ถึงเหล่านี้

ฉันฝึกซ้อมเทคนิคการวิ่งรั้วอยู่ตลอด ไม่ว่าตอนเดินหรือกระโดดก็ฝึกวิ่งข้ามไปด้วยเพื่อฝึกให้ก้าวได้หลายๆ จังหวะ สำหรับพวกเรา การวิ่งข้ามรั้วในโอลิมปิกจะอยู่ที่ความสูง 30 นิ้ว บางครั้งฉันก็ฝึกวิ่งข้ามที่ความสูง 36 นิ้วเพื่อให้ชินกับความรู้สึกไม่สบายตัว จากนั้นก็ยืดกล้ามเนื้อง่ายๆ ตามนั้นเลย พอมาถึงช่วงเวลานี้ของซีซั่นการแข่งขัน ร่างกายที่ผ่านการฝึกมาอย่างโชกโชนก็จะค่อนข้างระบม ซึ่งหนึ่งในวิธีดูแลตัวเองที่ดีที่สุดก็คือการยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังการฝึกซ้อม

  • เรื่องราว
  • ผลกระทบ
  • บริษัท
  • ห้องข่าว
      • © 2024 NIKE, Inc. สงวนลิขสิทธิ์